ห้องสมุดเปรียบเหมือนเสาหลักของชุมชนมานับพันปี จนเดือนเมษายนถูกตั้งขึ้นเป็นเดือนห้องสมุดโรงเรียน เพื่อเฉลิมฉลองการส่งเสริมการศึกษาและการสร้างความรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่บ่มเพาะที่เปิดกว้าง สิ่งที่ทำให้ห้องสมุดคงอยู่ได้ ไม่ใช่เพียงแค่การรักษาหนังสือหรือส่งเสริมความรู้ หากยังต้องอาศัยความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนไปของสมาชิกและเทคโนโลยี ระบบห้องสมุดยังไม่ล้มหายตายจากไปในเร็ววันนี้ แต่กลับจะเจริญเติบโต กลายเป็นสิ่งใหม่น่าตื่นเต้นที่รองรับความต้องการข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน
1. เพิ่มเทคโนโลยี
นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ห้องสมุดพัฒนาตัวเองไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีอย่าง ebook readers tablet PCs และ โอเพนซอร์ส บรรณารักษ์มีทรัพยากรมากมายในมือที่จะตอบสนองความต้องการของชุมชน หนังสืออาจไม่ดึงดูดใจอย่างอุปกรณ์พวกนี้ แต่บรรณารักษ์ที่ฉลาดต้องสามารถนำเอาเทคโนโลยีมาชักชวนให้สมาชิกอ่าน ‘หนังสือ’ ดีๆ มากขึ้นได
2. โปรแกรมเพื่อการเรียนรู้เชิงโต้ตอบสำหรับเด็ก
ในขณะที่ความต้องการของผู้ป่วยออทิสติกและเด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญามีเพิ่มมากขึ้น ห้องสมุดเพิ่มการจัดโปรแกรมเพื่อการเรียนรู้เชิงโต้ตอบ เพื่อให้เด็กๆ ได้เพลิดเพลินไปกับวรรณกรรมในรูปแบบและลักษณะที่เหมาะสมที่สุดกับพวกเขา ห้องสมุดหลายที่ได้พัฒนาโปรแกรมที่ใช้ตารางภาพเพื่อให้เด็กๆ รู้ว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป การใช้พรมตารางปูพื้นหรือเบาะสำหรับรองนั่ง และกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติจริงที่แม้กระทั่งเด็กทั่วไปยังสมามารถสนุกไปกับกิจกรรมเหล่านี้ได้ และสมาชิกในชุมชนยังได้รับประโยชน์จากการสร้างพื้นที่ครอบคลุมความต้องการของทุกคนอีกด้วย
3. ส่งเสริมให้มีการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาอื่นและการเรียนภาษาสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักสำหรับผู้ใหญ่และเยาวชน
ควรรณรงค์ให้ห้องสมุดส่งเสริมการเรียนรู้ดังกล่าว เพราะในโลกยุคปัจจุบันในชุมชุนหนึ่งนั้นประกอบไปด้วยผู้คนหลายเชื้อชาติที่มาจากประเทศต่างๆ ที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก
4. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติหมายถึงการทำงานของระบบห้องสมุดแบบออนไลน์ที่ทำงานร่วมหรือเชื่อมโยงงานกัน ตั้งแต่การค้นหาหนังสือ วิเคราะห์แยกหมวดหนังสือ บริการยืม-คืน และงานบริหารระบบสารสนเทศ ซึ่งสมาชิกไม่จำเป็นต้องไปเดินหาหนังสือตามชั้นอีกต่อไป เพียงแค่พิมพ์ค้นหาหนังสือที่ต้องการ ระบบจะทำการค้นหาหนังสือแล้วนำมาให้อย่างเช่นห้องสมุด The Joe and Rika Mansueto Library ที่ University of Chicago
5. ให้ความสำคัญกับพื้นที่ใช้สอยในห้องสมุด
การหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการบริการในห้องสมุดเท่ากับได้ช่วยประหยัดเนื้อที่ใช้สอยภายในห้องสมุดไปด้วยในตัว อย่างห้องสมุด The Anoka County Library ที่เมือง Minneapolis พื้นที่ว่างดังกล่าวจะเปิดให้ใช้เพื่อกิจกรรมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการเพิ่มเทคโนโลยีเข้าไป ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้หน้าที่ของบรรณารักษ์นั้นหมดไป แต่บรรณารักษ์จะต้องเป็นคนคอยแนะนำการใช้ ให้บริการผู้มาใช้ห้องสมุดแทน
6. เพิ่มสื่อสังคมออนไลน์ที่ทันสมัย
อย่าให้ความสำคัญกับสังคมออนไลน์น้อยเกินไปเด็ดขาด เพราะนี่คือปัจจัยหลักอีกประการหนึ่งที่ห้องสมุดทุกๆแห่งควรใส่ใจ เพราะสังคมออนไลน์นั้น ถือเป็นเวทีที่ทันสมัย และรวดเร็วที่สุด ที่นำผู้คนเป็นจำนวนมากๆมารวมกัน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม ช่วยกันตอบ ทั้งนี้ในแง่ของหนังสือ นี่คือการแบ่งปัน และวิจารณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับหนังสือมากมายได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจสั่งหนังสือเข้ามาห้องสมุดได้อีกทางหนึ่ง
7. ห้องทดลองสื่อดิจิตอล
เมื่อต้องการดึงดูดความสนใจวัยรุ่นให้เข้ามาใช้บริการ ห้องสมุดประชาชนในชิคาโกได้ออกห้องทดลองให้บริการสื่อออนไลน์ชื่อว่า YOUmedia เพื่อให้ผู้ใช้ในวัยรุ่นได้เข้ามาใช้อุปกรณ์ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตัดต่อภาพ เครื่องอัดเสียงและภาพ รวมถึงเปิดสอนแนะนำการออกแบบกราฟฟิค พอดคาสติ้ง หรือการอัดคลิปเสียง หรือวิดีโอ ที่อัพโหลดขึ้นไปฝากไว้บนออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการต่อยอดการศึกษาในอนาคตสำหรับผู้ที่ยังอยู่ในวัยเล่าเรียนทั้งหลายได้ด้วย
8. ที่มั่นทางอิเล็คทรอนิค
เช่นเดียวกับระบบดาวเทียมที่มีติดตั้งในห้องสมุดหลายๆแห่งแล้ว แทนที่จะขยายห้องสมุดกลางในด้านกายภาพ น่าจะเปลี่ยนมาให้บริการเหมือนกับ "ไซเบอร์คาเฟ่" ที่สมาชิกสามารถเข้าใช้งานคลังข้อมูลดิจิตอลได้ ซึ่งจะยังประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก
9. การร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่มคน (Crowdsourcing)
กลายเป็นเรื่องฮิตของการทำกิจกรรมในการตลาดออนไลน์ผ่าน Digital Campaign และการโฆษณาออนไลน์ เป็นเรื่องที่กำลังถูกพูดถึงมากในธุรกิจออนไลน์ และเป็นแนวโน้มของเทคโนโลยีและผู้ให้บริการ Web-service, Hosting และ Application ต่างๆ กำลังให้ความสำคัญ เพราะกลุ่มคนนี้มีมูลค่าสูงและทรงพลัง นี่จึงเป็นการกระจายปัญหาหรือวัตถุประสงค์บางอย่างเพื่อให้กลุ่มคนหรือชุมชนออนไลน์ มาร่วมกันแก้ปัญหาหรือทำอะไรตามวัตถุประสงค์นั้นๆ ยกตัวอย่างใกล้ตัวอย่าง Google, Youtube หรือ Wikipedia ที่เป็นสารานุกรม ออนไลน์ ที่ประชากร อาสาสมัครไซเบอร์ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมกันสร้างสรรค์และแก้เนื้อหาได้ หรือการให้ความสำคัญกับประชาชนเชื้อสายลาติน-อเมริกันที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ห้องสมุดที่ให้ความสำคัญกับ Crowdsourcing แล้ว เช่น ห้องสมุดสาธารณะเมดิสัน (Madison Public Library) ในเมืองนิว เจอร์ซี่ เป็นต้น
10. บรรณารักษ์ที่มีความกระฉับกระเฉง
เมื่อห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลง บรรณารักษ์จึงต้องพัฒนาตัวเองให้ทันต่อโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว แทนที่จะทำตัวเหมือนเสาหลักหนังสือ ก็ควรทำตัวให้ดูกระฉับกระเฉง เป็นมิตร และพร้อมช่วยเหลือ แนะนำ ส่งเสริม ผู้มาใช้บริการ ให้ได้ความรู้ เสริมสร้างการเรียนรู้ ให้กับทุกเพศและวัย ตามความเหมาะสม อีกนัยหนึ่งบรรณารักษ์ในอนาคตคือผู้รู้รอบตัว สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นเหมือนครูผู้สอน ผู้นำและนักวางแผนได้ในคนเดียวกัน
แปลและเรียบเรียงจาก : 10 Ways The Library Of The Future Will Be Different
ภาพประกอบจาก : Allison Meier