Copyright vs. Copyleft
สัญลักษณ์ Copyright และ Copyleft
ประเด็นทางจริยธรรมที่ถูกกล่าวถึงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลก็คือเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ วิดีโอ เพลง ซอฟต์แวร์ต่างๆ สามารถใช้งานและเผยแพร่ได้ทางออนไลน์ และง่ายต่อการนำไปสำเนา ดัดแปลง หรือขโมยความเป็นเจ้าของ
อันที่จริงแล้วงานสร้างสรรค์ทุกประเภทได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ (Copyright) ในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกเผยแพร่ ทันทีที่สร้างขึ้นโดยไม่ต้องจดทะเบียน เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของผู้สร้างสรรค์ผลงาน แต่ก็มีอีกแนวคิดหนึ่งที่เห็นว่า หากงานสร้างสรรค์ทุกชิ้นในโลกนี้ถูกจำกัดสิทธิไปเสียทั้งหมดจะเป็นเสมือนการกักตุนทางปัญญา และเสียโอกาสในการต่อยอดวิทยาการให้ก้าวไปข้างหน้า จึงได้ริเริ่มให้มี Copyleft หรือภาษาไทยเรียกกันว่า นิรสิทธิ์ หรือคำติดตลกว่า ลิขซ้าย กล่าวคือ การที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยอมสละสิทธิบางอย่างที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ และอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานสร้างสรรค์ของตนไปใช้งานได้ในระดับต่างๆ ได้แก่ อนุญาตให้ใช้ซ้ำ อนุญาตให้ใช้ซ้ำและแก้ไขได้ สามารถใช้ซ้ำในงานที่ไม่ใช้เชิงพาณิชย์ และ สามารถใช้ซ้ำในงานที่ไม่ใช้เชิงพาณิชย์และแก้ไขได้ ดังนั้น Copyleft ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับ Copyright โดยสิ้นเชิง แต่เป็นความพยายามเสนอทางเลือกที่เชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ในสังคมมากกว่าระบบลิขสิทธิ์แบบเดิม
เครื่องมือการค้นหาของ Google สามารถคัดกรองระดับในการอนุญาตให้นำข้อมูลภาพไปใช้งาน
แหล่งภาพ
- https://www.google.com
- https://aninditablog.files.wordpress.com/2012/06/copyright-dan-copyleft.jpg