การเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงสร้างการมีส่วนร่วม

การอ่านในแง่ของขอบเขตและความหลากหลายได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
การคิดในแง่ของเนื้อหาและการนำไปใช้ก็แปรเปลี่ยนไปเช่นกัน
การเรียนรู้ก็เปลี่ยน เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนอกตำราหรือนอกห้องเรียน หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าการศึกษาด้วยตนเอง มากกว่าการอบรมสั่งสอนจากอาจารย์
พรีเซนเทชั่นด้านล่างที่ทำขึ้นโดย Steven Wheeler ได้ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกยุคดิจิทัล แสดงให้เห็นความแตกต่างของความรู้ ปัญญา และการรับรู้ที่จำเป็น ซึ่งล้วนเป็นแนวทางที่สำคัญในการกำหนดกรอบการนำเสนอแนวคิด ซึ่งในขณะที่เราศึกษาถึงแนวทางการสอนและการเรียนรู้ใหม่ๆ เรายังค้นพบว่าความหมายของ ‘การเรียนรู้’ มีความหลากหลายขึ้น จนแทบหาคำจำกัดความเฉพาะได้ยาก ซึ่งถือเป็นจุดประสงค์หลักที่การนำเสนอในครั้งนี้ต้องการจะสื่อสารนั่นเอง
โครงสร้างการมีส่วนร่วม: ลักษณะ 7 ประการของการเรียนรู้แห่งอนาคต
“โครงสร้างการมีส่วนร่วม” ถือว่าเป็นหัวข้อน่าสนใจในสื่อสังคมออนไลน์ (social media) และมีลักษณะดังนี้:
- เกิดการร่วมมือ สื่อสาร แสดงความเห็นในข้อมูล
- เกิดการแท็ก (Tagging) หรืออธิบายว่าเนื้อหาที่เราเขียนขึ้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง รวมไปถึงเรื่องที่ใกล้เคียงกับเนื้อหานั้น
- เกิดการโหวต (Voting) หรือให้คะแนน
- เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย (Networking)
- เกิดการให้ผู้ใช้สร้างเนื้อหา (User Generated Content)
- เกิดเครื่องมือต่างๆ (Tools)
- เกิดการแบ่งปันข้อมูล (Sharing)
ปัจจัยทางสังคม (ออนไลน์) กำลังเป็นตัวควบคุมการปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนรู้ทั้งหลาย ไม่ว่าด้วยข้อความหรือรูปแบบอื่นๆ ทำให้เกิด “ทฤษฏีแนวคิดร่วมกัน (Communal constructivism)” ซึ่งอาจกลายเป็นแนวทางขั้นพื้นฐานแนวทางเดียวใน “การเรียนรู้ในอนาคต” ก็เป็นได้
ทฤษฏีแนวคิดร่วมกัน
ผลการศึกษาที่ทำขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ฮาลแลม (Sheffield Hallam University) พบว่าทฤษฏีแนวคิดร่วมกัน “ไม่เพียงแต่จะทำให้พวกนักศึกษากระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ด้วยกันเองแล้ว ยังสร้างความตื่นตัวขึ้นในกระบวนการค้นคิดหาความรู้ขึ้นอีกด้วย สำหรับสังคมการเรียนรู้ที่ขยายใหญ่ขึ้น…(และ) มีเวทีในการแสดงออกต่อกันแผ่ขยายมากขึ้น” และแนวคิดในการแสดงออกความเห็นแบบง่ายๆนี้ มีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในการออกแบบ และประเมินค่าการเรียนรู้และกระบวนการการเรียนรู้ เราคงจะได้ศึกษาและสำรวจ ‘ทฤษฏีแนวคิดร่วมกัน’ กันอย่างวิเคราะห์เจาะลึกกันมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต