การอ่านผ่านไอแพดในยุคการสื่อสารข้ามสื่อ: ความเป็นมาของการอ่านยุคดิจิตอล
ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมามีรูปแบบการอ่านผ่านคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมากมาย เช่นในปี พ.ศ.2535 “หนังสือมีชีวิต” (Living Books) ในรูปแบบ CD-ROM ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการอ่านที่มีทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงประกอบ แต่ยังจำกัดอยู่แค่หนังสือเด็กหรือหนังสือที่มีเนื้อหาไม่ซับซ้อน ใช้กับไฟล์ดีเค ที่เหมาะใช้ในหนังสือแบบเรียนเพื่อการอ่านในชั้นเรียน
หลังจากนั้นในยุคทศวรรษ 1990 ถึงต้นทศวรรษ 2000 เราคาดหวังที่จะอ่านของฟรีตามเว็บต่างๆ เว็บฟรีอย่าง Enchanted Learning ถึงจะมีเนื้อหาดี แต่ใช้ยาก รูปแบบไม่โดนใจ แถมมีโฆษณาน่ารำคาญเต็มไปหมด นักเรียนนักศึกษาสามารถหาวรรณกรรมคลาสสิกอ่านออนไลน์ได้ตามเว็บอย่าง Project Gutenberg แต่ก็มีไม่กี่แหล่งที่ให้อ่านได้ฟรี เช่น ห้องสมุดดิจิตอลสำหรับเด็ก (International Children’s Digital Library) ที่มีหนังสือมากมายรวมถึงเรื่อง Blue Sky
ตลอดทศวรรษ 2000 บางเว็บไซต์อย่าง Sesame Street ebook หาหนังสือฟรีออนไลน์อย่าง Elmo ‘N daddy หมุนเวียนมาให้อ่านกันทุกสัปดาห์ แต่ถ้าจะอ่านผ่านเว็บไซต์ที่ไม่มีโฆษณาก็ต้องสมัครเป็นสมาชิก เช่น Tumblebooks เป็นต้น

ต่อมาก็เป็นยุคของแอพพลิเคชั่นมือถือ (App) เริ่มจาก Freight Train ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจด้วยการนำเสนอหนังสือนิทานเชิงโต้ตอบที่มีภาพเคลื่อนไหว นับเป็นสัญญาณว่ารูปแบบการอ่านได้ก้าวผ่านหนังสือเด็กไปแล้ว หลายบริษัทให้ความสำคัญกับหนังสือนิทานแบบนี้ เช่น แอพพลิเคชั่นของ TouchyBooks ที่เสนอนิทานแนวทดลองสำหรับเด็กออกมามากมาย
หนังสือชุด Maximum Ride ของเจมส์ แพทเตอร์สันก็สามารถอ่านได้ในรูปแบบอีบุคผ่านอุปกรณ์ต่างๆ อย่างคินเดิล (Kindle) สมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็นไอโฟน, แอนดรอย หรือแบล็คเบอรี, ไอแพด, คอมพิวเตอร์, แมค และระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน 7 (Windows Phone 7) แถมยังมีช่องทางให้อ่านมากขึ้น หลากหลายรูปแบบ เช่น ในเว็บไซต์ของนักเขียน หรือการดาวน์โหลดแอพสำหรับอ่านซีรีย์เรื่อ FANG บนมือถือของสำนักพิมพ์ Book One ได้อีกด้วย

บางแอพพลิเคชั่นออกแบบมาเพื่อใช้บนเว็บไซต์ เช่นถ้านักอ่านอยากรู้เรื่องซีรีย์ The Vampire Academy เพิ่มก็ต้องเข้าไปอ่านที่แอพพลิเคชั่นในเฟซบุ๊ค หรือการอ่านหนังสืออีบุคบนไอแพดที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
เห็นได้ว่าเราต้องใช้เวลากว่าสองทศวรรษในการชุบชีวิตหนังสือเชิงโต้ตอบให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ขณะเดียวกันก็ยังทำให้เกิดช่องทางการอ่านที่หลากหลายมากขึ้น และได้สร้างคำจำกัดความของคำว่า “หนังสือ” ขึ้นใหม่ไปโดยปริยาย
แปลและเรียบเรียงจาก : READING IN AN IPAD TRANSMEDIA UNIVERSE: THE HISTORY OF DIGITAL READING
เครดิตภาพประกอบ : http://transmediacoalition.com/images/made/images/uploads/bigstock-the-concept-of-communication-o-30551735_copy_640_254.png