คำว่า “การอ่าน” และ “หนังสือ” มีความหมายอย่างไรในยุคการสื่อสารข้ามสื่อ แล้วความหมายของคำทั้งสองนี้ยังใช้ได้อยู่ หรือว่าเราต้องบัญญัติคำขึ้นมาใหม่ หากพิจารณาจากหัวข้อต่อไปนี้ เรายังจะถือว่านี่คือการอ่านและสิ่งเหล่านี้คือหนังสือหรือไม่
ลองมาพิจารณาการอ่าน 5 รูปแบบใหม่กันดีกว่า
1. หนังสืออิเล็คทรอนิกส์หรืออีบุค (E-books)
หนังสืออิเล็คทรอนิกส์มีลักษณะเหมือนหนังสือที่ตีพิมพ์ แต่มักมีเครื่องมือช่วยอ่านเสริมมาด้วย เช่น การเน้นข้อความ พจนานุกรม การจดบันทึก จึงมีนักเขียนหลายท่านผลิตหนังสือรูปแบบอีบุคออกมาด้วย ส่วนอีบุครุ่นใหม่จะมีลูกเล่นอื่นๆ ผสมอยู่กับเนื้อความ เช่น รูปภาพ ลิงค์ไปเว็บไซต์อื่น หรือสื่ออื่นๆ ที่ฝังลงในหนังสือเลย แม้กระหนังสือแนวสารคดีหลายต่อหลายเล่มก็ยังนำสื่อหลายรูปแบบมาใส่ไว้ในเล่ม
ตัวอย่าง: หนังสือชุด “เกมล่าเกม” (The Hunger Games) และเรื่องอื่นที่แต่งโดย ซูซาน คอลลินส์ ล้วนหาอ่านในรูปแบบของอีบุค
2. หนังสือนิทานแบบโต้ตอบได้
เป็นรูปแบบหนังสือที่มีเสียงผู้เล่านิทานให้ฟัง มีการเน้นข้อความตามที่อ่าน และในหนังสือมักมีตัวเลือกให้ “อ่านให้ฟัง” “อ่านเอง” หรือ “เล่นด้วย” ในช่วงแรกออกมาในรูปแบบซีดี-รอม แต่ในปัจจุบันสามารถอ่านได้จากแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์และแทบเล็ต
ตัวอย่าง: สามารถดูตัวอย่างเรื่อง One Snowy Day ทาง YouTube และดาวน์โหลดได้ทาง iTunes
3. ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น
เป็นการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ผ่านช่องทางค้นหาต่างๆ ดัชนีค้นหา (indexes) หรือเรื่องที่ค้นหา (
ตัวอย่าง: หนังสือชุดแบบที่ต้องเสียเงินและไม่เสียเงิน ibirds pro เป็นเวอร์ชั่นที่สมบูรณ์แบบที่สุด หรือ Star Walk for iPad ซึ่งนับว่าเป็นแอพที่ดูดาวที่ดูได้เหมือนอยู่ในสถานที่จริง
4. ข้อความหลายมิติและนิยายแนวปฏิสัมพันธ์ (Hypertext and Interactive Fiction)
ข้อความหลายมิติและนวนิยายแนวปฏิสัมพันธ์เป็นการเล่าเรื่องที่เข้าถึงได้ผ่านจุดในหน้าจอหรือลิงค์ เรื่องที่ให้เลือกการผจญภัยเองได้นับว่าเป็นนิยายแนวปฏิสัมพันธ์ เกมผจญภัยหลายเกมจะมีเรื่องเล่าอยู่ด้วย ลองอ่านหรือฟังเพื่อดูรูปแบบกันได้ที่ Choose Your Own Adventure Gets an iMakeover จาก NPR (สิงหาคม 16, 2553)
ตัวอย่าง: 253 or Tube Theatre เขียนโดย จอฟ ไรแมน คือนิยายแบบปฏิสัมพันธ์ที่เด่นชัดเรื่องหนึ่ง
5. การเล่าเรื่องข้ามสื่อ (TRANSMEDIA STORYTELLING)
การเล่าเรื่องข้ามสื่อ เกี่ยวข้องกับการส่งต่อเรื่องราวต่อเนื่องไปยังสือหลากหลายรูปแบบที่มีองค์ประกอบของการมีส่วนร่วม แหล่งข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเรื่องราวอาจรวมถึง สื่อสิ่งพิมพ์ เอกสาร แผนที่ เว็บไซต์ เบาะแสจากเว็บ แอพ สายโทรเข้า โซเชียลมีเดีย กิจกรรม เกม สื่ออื่นๆ (เสียง วีดิโอ แอนิเมชั่น) เรื่องราวอาจจะเกิดขึ้นในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ เช่นในหนังสือหรือในเว็บไซต์ โดยเล่าผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น นิยายเรื่อง 39 Clues Skeleton Creek และ Cathy’s Book
ตัวอย่าง: The Amanda Project: experience website, fictional school website
ชไนเดอร์ (Schneider: 2005,198) กล่าวไว้ว่า นักอ่านที่หลงใหลในนิยายแบบข้อความหลายมิติ (Hypertexts) คือนักอ่านที่มีอำนาจ และกล้าฉีกกฎเกณฑ์ของวรรณกรรม’เดิมๆ’ จนมีนักวิจารณ์บางคนได้ตั้งคำถามว่า “ความหมายของคำว่า “ผู้อ่าน” และ “หนังสือ” อาจจะไม่ครอบคลุมถึงการตอบรับกับนวนิยายแบบข้อความหลายมิติเอาเสียเลย เพราะรูปแบบการอ่านรูปแบบใหม่นี้ ได้สร้างความเชี่ยวชาญขึ้นมาใหม่ให้กับผู้อ่าน ในขณะที่ไม่เคยมีมาก่อนในรูปแบบการอ่านแบบเก่าๆ
แปลและเรียบเรียงจาก READING IN AN IPAD TRANSMEDIA UNIVERSE: FIVE ELECTRONIC READING ENVIRONMENTS
เครดิตภาพ http://specialedpost.org/