TK FORUM 2025 “Books Without Borders”

5 มีนาคม 2568 เวลา 12:20 น.
เพจ The KOMMON 233

1920x1080.jpg

     รู้หรือไม่... ประเทศต่างๆ มีเครื่องมืออะไรในการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านและการพัฒนาหนังสือ❓

     นอกจากห้องสมุดที่มีคุณภาพแล้ว ยังต้องมีกลไกเชิงสถาบันอะไรอีกบ้างเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเข้าถึงหนังสือดี ❓

     ทำอย่างไรให้หนังสือเป็นซอฟต์พาวเวอร์❓

     วิธีการใดทำให้ตลาดโลกรู้จักและอยากอ่านอยากซื้อ❓

     TK FORUM 2025 “Books Without Borders” มีคำตอบ❓

     เปิดโลกความรู้ด้านนโยบาย สร้างสังคมการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง

     แกะรอยมาตรการส่งเสริมการอ่านและกลไกการพัฒนาระบบหนังสือ ผ่านประสบการณ์และกรณีศึกษาจากประเทศชั้นนำ

     เพราะโลกของหนังสือและการอ่าน ไม่มีพรมแดน‼️

          รู้จักกับ...

          Literature Translation Institute of Korea (LTI) : สถาบันการแปลวรรณกรรม ที่มีบทบาทอย่างสำคัญทำให้วรรณกรรมเกาหลีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

          Finnish Literature Exchange (FILI) : องค์กรสนับสนุนวรรณกรรม กับการสร้างเครือข่ายสำนักพิมพ์และเอเย่นต์หนังสือ เพื่อผลักดันวรรณกรรมฟินแลนด์สู่ตลาดโลก

          มูลนิธิการอ่าน Stiftung Lesen ของเยอรมนี ที่มีกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในกลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นรากฐานวัฒนธรรมการอ่านของประเทศ

          เมือง Exeter ที่ใช้กลไก “เมืองวรรณกรรม” สร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมหนังสือ

          กฎหมายห้องสมุด ซึ่งเป็นหลักประกันการเข้าถึงความรู้ผ่านห้องสมุดสาธารณะ และเป็นเครื่องมือเสริมแรงให้ห้องสมุดทำงานเพื่อประชาชนอย่างครอบคลุมและมีคุณภาพ

          พบกัน วันพฤหัสบดี 20 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 – 12.30 น. รับชมออนไลน์ทาง Facebook Live ที่เพจ The KOMMON และ TK Park อุทยานการเรียนรู้

          หรือลงทะเบียนเข้ารับชมผ่านระบบ Zoom Webinar  

            สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทางอีเมล tkforum@tkpark.or.th หรือ โทร. 0 2264 5963 ถึง 5 ต่อ 113 มือถือ 08 9969 4699 (คุณศรันภัทร)

album-8.jpg

 

SPEAKER

post-speaker1.jpg

     แอนนา โคห์น ออร์ชาร์ด (Anna Cohn Orchard) เป็นผู้อำนวยการโครงการ Exeter UNESCO City of Literature ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริม Exeter ให้เป็นเมืองแห่งวรรณกรรมขององค์การยูเนสโก แอนนาจบการศึกษาด้านวรรณกรรมอังกฤษ และภูมิศาสตร์วัฒนธรรม (Cultural Geography) มีประสบการณ์ทำงานกับพิพิธภัณฑ์มาแล้วหลายแห่ง เช่น Museum of Food and Drink, the Robin Hood Foundation, and the Roald Dahl Story Company ทำให้แอนนาสั่งสมประสบการณ์ด้านการทำโปรเจกต์ และการสร้างเครือข่ายในชุมชน 

     ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการ ก็ได้ริเริ่มโครงการเกี่ยวกับวรรณกรรมในเมือง Exeter มากมาย เช่น  ร่วมมือกับสำนักพิมพ์ Penguin Random House ติดตั้งตู้กระจายหนังสือ  ริเริ่มโครงการบรรณบำบัดร่วมกับ Exeter College และพยายามสรรหานวัตกรรมมาช่วยส่งเสริมให้ชาวเมืองมีโอกาสเข้าถึงหนังสือได้อย่างเท่าเทียม ช่วยส่งต่อมรดกวัฒนธรรมด้านวรรณกรรมให้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลัง

post-speaker2.jpg

     ปาร์ก ชานอู (Park Chanwoo) ผู้จัดการด้านเนื้อหา (Content Manager) ของ Literature Translation Institute of Korea (LTI) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแปลวรรณกรรมและมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการแปลและเผยแพร่วรรณกรรมเกาหลีสู่ระดับสากล ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Content Manager ที่ สถาบันวรรณกรรมและการแปลแห่งเกาหลี (LTI Korea)

     ด้วยประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับนักเขียนและนักแปลจากทั่วโลก ปาร์ค ชานอูมุ่งมั่นในการเชื่อมโยงวรรณกรรมข้ามวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับนานาชาติผ่านพลังของงานเขียนและการแปล

post-speaker3.jpg

     ดร. ยอร์ก เอฟ. มาส (Dr.Jörg F. Maas) ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการของมูลนิธิการอ่าน (Stiftung Lesen) ตั้งแต่ มกราคม 2011 และเป็นประธานคณะกรรมการขององค์กรระดับสหภาพยุโรป EURead ตั้งแต่ปี 2014 ทั้งยังดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์กรขนาดใหญ่หลายองค์กร เช่น กรรมการผู้จัดการของมูลนิธิประชากรโลกเยอรมัน (DSW) ที่ปรึกษาขององค์กรระหว่างประเทศในด้านสุขภาพและนโยบายการพัฒนา ผู้ประสานงานของมูลนิธิ Bill & Melinda Gates ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน(สหรัฐอเมริกา)

     สำเร็จศึกษาด้านปรัชญา ภาษาเยอรมัน และปรัชญาวิทยาศาสตร์ จบการศึกษาปริญญาเอกด้วยวิทยานิพนธ์ในสาขาปรัชญาและประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เคยเป็นนักวิชาการอาคันตุกะที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผ่านการฝึกอบรมเพิ่มเติมด้านการจัดการองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและสแตนฟอร์ด เขาตีพิมพ์ผลงานวิชาการหลายชิ้น ทั้งในสาขาสาธารณสุข ประชากรศาสตร์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การใช้สื่อใหม่ในด้านสุขภาพและการศึกษา ทั้งยังเป็นอาจารย์ในสาขาการจัดการองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และการจัดการระหว่างวัฒนธรรม ให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในยุโรป

post-speaker4.jpg

     เทีย สตรานเดน (Tiia Strandén) จบการศึกษาด้านวรรณกรรมโดยเฉพาะ ด้วยความที่เกิดที่ฟินแลนด์ แต่เติบโตและเข้ารับการศึกษาในสวีเดน เทียจึงสามารถพูดได้ทั้ง 2 ภาษา มีประสบการณ์การทำงานในฐานะเลขานุการด้านวัฒนธรรมที่ศูนย์วัฒนธรรมของฟินแลนด์อยู่หลายปี  จากนั้นเริ่มทำงานที่ Finnish Literature Exchange (FILI) ตั้งแต่ปี 2011 และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการตั้งแต่ปี 2017 เทียมองเห็นพัฒนาการของอุตสาหกรรมหนังสือตั้งแต่ก่อนฟินเลนด์จะเข้าร่วมเป็น Guest of Honour ของ Frankfurt Bookfair 

post-speaker5.jpg

     ซู วิลเลียมสัน (Sue Williamson) ทำงานกับห้องสมุดในหลากหลายบทบาทมายาวนานกว่า 18 ปี ตำแหน่งล่าสุด คือ ผู้จัดการด้านบริการห้องสมุดในเมืองเซนต์เฮเลน ก่อนที่จะย้ายมาทำงานในฐานะผู้อำนวยการห้องสมุดของ The Arts Council ในปี 2018 ภายใต้การดูแลของซู The Arts Council งบประมาณถูกจัดสรรให้ห้องสมุดเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และดำเนินกิจกรรมที่เป็นที่รู้จักทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ในฐานะประธานสมาคม CILIP ซูได้ส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ‘การอ่านเพิ่มความเพลิดเพลิน’ เพื่อสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในสหราชอาณาจักรให้เข้มแข็ง

โครงการอื่นๆ