Photo : https://thedesignfiles.net
เว็บไซต์ thedesignfiles.net เผยแพร่สกู๊ปเรื่อง “Bookworms Rejoice – The Best Libraries in Australia” แนะนำห้องสมุดในออสเตรเลีย 8 แห่งที่มีการออกแบบภายนอกและตกแต่งภายในได้อย่างโดดเด่น มีเอกลักษณ์และเรื่องราวที่น่าสนใจ คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้และการมีส่วนร่วมของชุมชน จนกลายเป็นหมุดหมายสำคัญของเมือง
ห้องสมุดทั้ง 8 แห่งได้รับการออกแบบโดยบริษัทสถาปนิกชั้นนำ ดังนั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นห้องสมุดดีที่สุดเท่านั้น แต่ยังอาจเรียกได้ว่าเป็นห้องสมุดที่สวยที่สุดของออสเตรเลีย ณ เวลานี้ อีกด้วย
readWORLD ขอพาผู้อ่านไปเพลินตากับห้องสมุดแดนจิงโจ้ ซึ่งเรามักมองข้ามไปในแง่ของความเป็นตัวแบบด้านสถาปัตยกรรมและความคิดสร้างสรรค์ และหวังว่าจะจุดประกายไอเดียให้นำมาใช้กับการพัฒนาห้องสมุดของไทยได้บ้าง
ศูนย์มรดกและห้องสมุดจีลอง (Geelong Library And Heritage Centre)
บริษัท ARM Architecture ออกแบบอาคารห้องสมุดแปดชั้นด้วยการตกแต่งพื้นผิวภายนอกอาคารด้วยชิ้นส่วนกระจกและวัสดุมันวาวประกอบกันเป็นผลึกหรือเกล็ดรูปหกเหลี่ยมจำนวน 332 แผ่นบนอาคารทรงกลมโค้งคล้ายลูกบอลดิสโก้เธค อาคารห้องสมุดเดิมมีเพียงสองชั้น แต่ผู้ออกแบบได้ต่อเติมครอบทับอาคารเดิม และปรับเอกลักษณ์ห้องสมุดใหม่ให้ตอบสนองกับความต้องการใช้งานทั้งในปัจจุบันและอนาคตสำหรับชาวเมืองจีลอง อาคารทรงกลมคล้ายรูปโดมนี้เพื่อให้รู้สึกถึงการเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับโดมเก่าแก่ของห้องสมุดรัฐวิกตอเรีย แต่มีความร่วมสมัยและมุ่งหน้าสู่ความไฮเทค
The Geelong Library and Heritage Centre (GLHC). Photo – John Gollings.
คลิกดูรายละเอียดที่ Geelong Library and Heritage Centre
51 Little Malop Street
Geelong, Victoria
ชมคลิปที่ Kane – Geelong Library & Heritage Centre from Kane Constructions Pty Ltd on Vimeo.
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://armarchitecture.com.au
https://www.grlc.vic.gov.au/glhc
https://modelprogrammer.slks.dk
ศูนย์ความรู้และห้องสมุดแบงก์สทาวน์ (Bankstown Library and Knowledge Centre)
ออกแบบโดย บริษัท fjmt ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันกับพื้นที่โครงการบูรณะปรับปรุงอาคารศาลาว่าการแบงก์สทาวน์หลังเก่า สถาปนิกเลือกสรรวัสดุจากอาคารหลังเดิม ไม่ว่าจะเป็นไม้ซุงคุณภาพดี คอนกรีตหล่อสำเร็จ (pre-cast concrete) อะลูมิเนียม และสเตนเลส เอามาประกอบสร้างให้เป็นอาคารที่มีจุดประสงค์การใช้งานใหม่ จนกลายเป็นผลงานศิลปะชิ้นเอกที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน ห้องสมุดกินพื้นที่สามชั้นของอาคารและกำหนดให้ขนานไปกับพื้นที่สาธารณะที่ออกแบบภูมิทัศน์ไว้แล้ว เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ชมทิวทัศน์ในขณะนั่งอ่านหนังสือภายในอาคาร
The arresting facade of the Bankstown Library. Photo – Christian Mushenko.
คลิกดูรายละเอียดที่ Bankstown Library and Knowledge Centre
80 Rickard Road
Bankstown, New South Wales
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://fjmtstudio.com
https://modelprogrammer.slks.dk
https://www.australiandesignreview.com
https://www.cbcity.nsw.gov.au/community
https://www.governmentarchitect.nsw.gov.au
https://archello.com/project
ศูนย์การเรียนรู้และห้องสมุดโคบรัม Cobram Library And Learning Centre
ห้องสมุดโคบรัมออกแบบโดยบริษัท CohenLeigh Architects เป็นบริษัทสถาปนิกสัญชาติออสเตรเลียที่ตั้งอยู่ในวิกตอเรีย สถาปนิกสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้คนในชุมชนอย่างกว้างขวางทุกภาคส่วน และพัฒนาเป็นงานออกแบบที่สะท้อนถึงรูปทรงของแม่น้ำเมอร์เรย์ซึ่งเป็นแม่น้ำหลักของเมือง โดยใช้ท่อนไม้ขนาดเล็กมาตกแต่งภายนอกให้เป็นแนวคดโค้งจนทำให้ผนังดูเหมือนฉากที่มีมิติมากขึ้น ไม้แต่ละท่อนที่นำมาวางเรียงกันเป็นซี่ยังทำหน้าที่คล้ายกับม่านกันแดดที่จะส่องเข้าไปยังภายในพื้นที่ห้องสมุดได้อีกด้วย
ภายในห้องสมุดมีทางเดินทอดยาวตรงกลาง ฝ้าเพดานตกแต่งด้วยไม้ธรรมชาติเป็นโครงอาคารที่เชื่อมพื้นที่อ่านส่วนตัวเข้ากับพื้นที่ทำงานร่วมกัน นอกจากนั้นยังมีโซนอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ๆ แทรกอยู่ในทุกพื้นที่ สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการและความสนใจของชาวเมืองโคบรัม
The sweeping exterior form of the Cobram Library is inspired by the nearby Murray River. Photo – Tom Blachford.
คลิกดูรายละเอียดที่ Cobram Library and Learning Centre
14 Punt Road
Cobram, Victoria
Photo : www.cohenleigh.com
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.cohenleigh.com/
https://www.indesignlive.com
https://www.alia.org.au/
ห้องสมุดวูลลารา (Woollahra Library)
ห้องสมุดแห่งนี้ออกแบบโดยบริษัท BVN โดยนำเอาธรรมชาติที่อยู่รายรอบเข้ามาไว้ในพื้นที่การอ่าน การจัดสวนแนวตั้งและรูปทรงที่ดูมีชีวิตชีวาเป็นธรรมชาติสร้างความรู้สึกเชื้อเชิญและแวดล้อมไปด้วยความสงบ นับตั้งแต่มีการปรับปรุงตกแต่งด้วยแนวคิดใหม่นี้ ทำให้สมาชิกห้องสมุดเพิ่มขึ้นใหม่อีกมากกว่า 4,000 คน ยอดผู้เข้ามาเยี่ยมชมแต่ละวันเพิ่มขึ้นจาก 400 คนเป็น 2,500 คน
นอกจากพื้นที่อ่านที่เป็นส่วนตัวและซอกสำหรับนั่งอ่านหนังสือเงียบๆ สวยๆ จำนวนมากแล้ว ห้องสมุดวูลลารายังมีห้องคืนหนังสืออัตโนมัติ ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้สามารถมองดูหนังสือที่ส่งคืนถูกแยกประเภทโดยเครื่องจักรอัตโนมัติ (สำหรับไว้ดูเพลินๆ!) และมีช่องประตูลับระหว่างบันไดทางขึ้นที่ทำด้วยไม้ซึ่งสามารถทะลุไปยังทางลาดสำหรับให้เด็กๆ ใช้ไถลลื่นลงไปยังมุมหนังสือเด็กที่มีบรรยากาศแสนสบายอีกด้วย
Photo : https://sydneydesign.com.au
คลิกดูรายละเอียดที่ Woollahra Library
536 New South Head Road
Double Bay, New South Wales
Woollahra Library at Double Bay from BVN on Vimeo.
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.bvn.com.au
http://www.woollahra.nsw.gov.au/library
https://www.alia.org.au/
ห้องสมุดคอฟิลด์ Caufield Library
ห้องสมุดคอฟิลด์ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยโมแนช ออกแบบโดยบริษัท John Wardle Architects เป็นห้องสมุดที่แปลงโฉมจากคอนกรีตและอิฐเปลือยซึ่งดูกระด้างแข็งกร้าว ให้มีความรู้สึกนุ่มนวลและเชื้อเชิญมากขึ้น อาคารยุค 1970 ถูกเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่เพื่อต้อนรับนักศึกษาให้เข้ามาใช้พื้นที่ และยังเปิดเผยให้เห็นกรอบและโครงสร้างของตัวอาคารเดิมอีกด้วย ห้องโถงกลางอาคารเปิดกว้างเพื่อให้แสงผ่านเข้ามาได้จนสุดด้านใน พื้นที่นั่งอ่านถูกปรับให้เพิ่มขึ้นจากเดิม 746 ที่นั่ง เป็น 1,572 ที่นั่ง และจัดทำปลั๊กไฟสำหรับเสียบชาร์จแล็ปท็อปได้แบบไม่อั้น
งานปรับโฉมภายนอกมีความโดดเด่นอย่างเท่าเทียมกันระหว่างกระจก โครงเหล็ก และผ้าใบตาข่าย ซึ่งช่วยให้ร่มเงาและใช้แบ่งสัดส่วนพื้นที่ภายนอกกับภายในได้ไปในตัว ห้องสมุดแห่งนี้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมการออกแบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยจากสมาคมสารสนเทศและห้องสมุดออสเตรเลีย ประจำปี 2019
Photo : https://www.johnwardlearchitects.com
คลิกดูรายละเอียดที่ Caufield Library
Dandenong Road, Monash Univeristy
Caufield, Victoria
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.johnwardlearchitects.com
https://www.monash.edu/library
ห้องสมุดบันจิลเพลส (Bunjil Place Library)
ออกแบบโดยสตูดิโอ fjmt อีกเช่นกัน ซึ่งปรับมาจากลวดลายของชนพื้นเมือง Boon Wurrung ภายใต้แนวคิด “การพบปะกันของหลากหลายเส้นทาง” สร้างสรรค์เป็นงานที่มีความคดเคี้ยวบนรูปทรงที่มีความลื่นไหลเป็นธรรมชาติ โถงทางเข้าห้องสมุดชั้นล่างระดับพื้นดินนั้นถูกออกแบบให้ขยายกว้างจนเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สำหรับชุมชน แสดงถึงการเชื้อเชิญต้อนรับคนทุกคน เพดานสูงและชั้นลอยให้ความรู้สึกอลังการ และยังจัดสรรพื้นที่สำหรับเด็กและวัยรุ่น มีห้องเล่นเกม ห้องทำงานกลุ่ม ซึ่งช่วยตอกย้ำความเป็นห้องสมุดที่ยินดีต้อนรับทุกคนเพื่อให้ได้รับความสนุกสนานกลับไป
Welcome to Bunjil Place Library. Photo – John Gollings.
คลิกดูรายละเอียดที่ Bunjil Place
2 Patrick NE Drive
Narre Warren, Victoria
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://fjmtstudio.com/
https://www.bunjilplace.com.au/
ห้องสมุดเซอร์รีฮิลล์ (Surry Hills Library)
เป็นห้องสมุดอีกแห่งหนึ่งซึ่งออกแบบโดยบริษัท fjmt ที่ตั้งของเซอร์รีฮิลล์นั้นประกอบด้วยห้องสมุด ศูนย์ทรัพยากร ศูนย์เด็กและชุมชน สวนสาธารณะและสนามหญ้าแบบยกพื้น พื้นที่ส่วนห้องสมุดกินพื้นที่อาคารชั้นล่างทั้งหมด บริเวณห้องโถงใหญ่ชั้นล่างใช้ผนังกระจกใสรูปทรงเรียวเสมือนปริซึมโปร่งใส ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์แวดล้อมที่เปิดโล่งภายนอกมองดูสบายตา ขณะเดียวกันผู้ออกแบบก็ตั้งใจให้บรรยากาศที่เปิดกว้างและโปร่งแสงเช่นนี้ดึงดูดความสนใจให้คนภายนอกที่ผ่านไปมาเกิดความรู้สึกอยากเข้ามามีส่วนร่วมในห้องสมุดด้วยเช่นกัน ห้องสมุดพยายามสร้างสมดุลระหว่างความหมายเชิงคุณค่าของตนกับการมีส่วนร่วมของชุมชน อาคารห้องสมุดแห่งนี้จึงเป็นอาคารเพื่อพลเมืองอย่างแท้จริง
Transparency and connection were the underlying principles in the design of the Surry Hills Library by fjmt. Photo – Courtesy of Surry Hills Library.
คลิกดูรายละเอียดที่ Surry Hills Library
405 Crown Street
Surry Hills, New South Wales
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://fjmtstudio.com/
https://www.cityofsydney.nsw.gov.au
ห้องสมุดรัฐวิกตอเรีย (State Library of Victoria)
ห้องสมุดรัฐวิกตอดเรียกำลังอยู่ระหว่างการบูรณะปรับปรุงขนานใหญ่ตามแผนวิสัยทัศน์ 2020 ซึ่งนครเมลเบิร์นได้ว่าจ้างให้บริษัท Architectus และบริษัท Schmidt Hammer Lassen Architects ทำการออกแบบ กล่าวได้ว่านี่คือห้องสมุดเก่าแก่ขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคุ้นตาตามแบบแผน มีทั้งความโอ่อ่าโอฬารและกระตุ้นแรงบันดาลใจ ซึ่งก่อนที่การปรับโฉมห้องสมุดนี้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์นั้น ในเมลเบิร์นได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาแล้วหลายต่อหลายแห่ง
ห้องสมุดรัฐวิกตอเรีย ออกแบบโดย โจเซฟ รีด เปิดให้บริการตั้งแต่ปี ค.ศ.1856 ผู้ใช้ที่มีอายุเกิน 14 ปี ไม่เสียค่าบริการใดๆ นับเป็นห้องสมุดประชาชนที่เก่าแก่ที่สุดและมีผู้ใช้หนาแน่นที่สุดในออสเตรเลีย ปัจจุบันมีทรัพยากรทุกประเภทกว่า 5.1 ล้านรายการ ผู้เข้าเยี่ยมชมมากกว่า 5,000 คนต่อวัน ยิ่งในช่วงก่อนสอบ ผู้ใช้ต้องเดินเตร่หาที่นั่งเป็นเวลานานเนื่องจากแทบจะไม่มีโต๊ะเก้าอี้ว่าง ทุกวันนี้ห้องโถงโดม (Dome Room) ยังคงเป็นห้องที่มีการใช้งานอย่างหนาแน่น ผู้คนต้องเดินทางไปห้องสมุดแต่เช้าเพื่อจับจองที่นั่งก่อนคนอื่น ดังนั้นการบูรณะปรับปรุงครั้งล่าสุดจึงวางแผนจะเพิ่มพื้นที่ส่วนกลางอีกร้อยละ 40 และเพิ่มจำนวนที่นั่งอีกร้อยละ 70
The Dome Room. Photo – Courtesy of State Library Victoria.
คลิกดูรายละเอียดที่ State Library of Victoria
328 Swanston Street
Melbourne, Victoria
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.architectus.com.au/
https://www.shl.dk/state-library-victoria/
http://www.slv.vic.gov.au/